Marie - The Aristocats 3

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

การบันทึกครั้งที่ 6 / วันพุธที่  23 กันยายน พ.ศ.2558
เรียนเวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดประชุม

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การบันทึกครั้งที่ 5 / วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558
เรียนเวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

 กิจกรรมแรกของสัปดาห์นี้ อาจารย์ให้ร้องเพลงทบทวนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เพลงดวงอาทิตย์  
เพลงดวงจันทร์  
เพลงรำวงดอกมะลิ  
เพลงดอกมะลิ 
และเพลงดอกกุหลาบ


กิจกรรมนี้อาจารย์ให้ทายคำถาม อะไรเอ๋ย ?





แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้
ภาษาของเด็ก
- นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน  
Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
-  มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
การสอนแบบอ่านแจกลูก (Phonic)
การประสมคำ
- พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 
- เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
- เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
- อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ  นฤมน เนียมหอม (2540)
- การจัดสภาพแวดล้อม
การสื่อสารที่มีความหมาย
- การเป็นแบบอย่าง
- การตั้งความคาดหวัง
- การคาดคะเน
- การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- การยอมรับนับถือ
- การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
บทบาทครู (นิรมล ช่างวัฒนชัย, 2541)
- ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์






( อาจารย์ให้ดูวิดีโอเกี่ยวกับภาษาธรรมชาติของเด็ก )


            กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้ร้องใหม่ 5 เพลง ได้แก่ 
เพลงนกกระจิบ 
 เพลงเที่ยวท้องนา              
   เพลงแม่ไก่ออกไข่ 
   เพลงลูกแมวสิบตัว 
และเพลงลุงมาชาวนา




และกิจกรรมสุดท้ายของสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียนคนละ 1 เพลง
ดิฉันร้องเพลง สวัสดี 






การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมทุก ๆ อย่าง ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษากัน รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความสนุกสนานในการเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก เตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้เรียนเข้าใจ สนุกสนาน และอาจารย์ก็ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ








วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

การบันทึกครั้งที่ 4 / วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
เรียนเวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ก่อนจะเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องเกี่ยวกับภาษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว



    ต่อมาอาจารย์สอนทำบล็อค ทำให้ดิฉันเรียนรู้การทำบล็อคได้เข้าใจมากขึ้น

หลังจากสอนทำบล็อคเสร็จ อาจารย์ได้ทบทวนเพลงของสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ 
เพลงตาดูหูฟัง  
เพลงนกเขาขัน  
เพลงจ้ำจี้ดอกไม้   
เพลงดอกไม้ 
และเพลงกินผักกัน


แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ John B. Watson - ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา ได้แก่
Vygotsky , Piaget ทฤษฎีของสองคนนี้คล้าย ๆ กัน
3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย ได้แก่
Arnold Gesell - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแแต่เกิด  ได้แก่
Noam Chomsky - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
O.Hobart Mowrer - คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ

จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความพร้อม
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. การจำ
4. การให้แรงเสริม
      อาจารย์ให้เพื่อนออกไปพูดประโยคคำควบกล้ำ คือในตอนแรก ๆ ประโยคสั้น ๆ แต่พอหลัง ๆ เริ่มยาวมากขึ้นและพูดยากมากขึ้น  ดิฉันเองลองพูดตามเพื่อนแต่ต้องพูดช้า ๆ เพื่อคำที่พูดนั้นจะได้ไม่ผิดความหมาย ในกิจกรรมนี้สนุกและตลกมาก ๆ เลยค่ะ












ฝึกร้องเพลงใหม่ 5 เพลง
เพลงดวงอาทิตย์  
เพลงดวงจันทร์  
เพลงรำวงดอกมะลิ  
เพลงดอกมะลิ 
และเพลงดอกกุหลาบ
      และกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันแต่งนิทาน และทำหนังสือนิทานที่เราแต่งกิจกรรมนี้ทำเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน







อาจารย์ได้สอนเทคนิคในการเล่านิทาน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อทำให้มีความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละคน แต่ละช่วงวัย เมื่อเกิดปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
  • สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ เป็นความรู้ และเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ เช่น การร้องเพลง พร้อมท่าประกอบ การแต่งนิทาน ระหว่างครูกับเด็ก ๆ เพื่อเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการทำงานของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการได้หลากหลายวิชา
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตนเองตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดด้านการพัฒนาทาง ภาษา และได้ฝึกทักษะการพูด ออกเสียงอย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ ทั้งการเรียน และให้ความร่วมมือ ช่วยกันระดมความคิด   จินตนาการในการทำงาน มีความสุขในการเรียนและทำกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนไม่เครียด และน่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนราบรื่น เป็นขั้นเป็นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาสอน ก็มีความสนุกสนาน รวมทั้งได้ความรู้ จากการเรียนและทำกิจกรรมด้วย








วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การบันทึกครั้งที่ 3 / วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ.2558
เรียนเวลา 08.30 - 12.30 น. 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดธุระ