Marie - The Aristocats 3

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

การบันทึกครั้งที่ 4 / วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
เรียนเวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ก่อนจะเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องเกี่ยวกับภาษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว



    ต่อมาอาจารย์สอนทำบล็อค ทำให้ดิฉันเรียนรู้การทำบล็อคได้เข้าใจมากขึ้น

หลังจากสอนทำบล็อคเสร็จ อาจารย์ได้ทบทวนเพลงของสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ 
เพลงตาดูหูฟัง  
เพลงนกเขาขัน  
เพลงจ้ำจี้ดอกไม้   
เพลงดอกไม้ 
และเพลงกินผักกัน


แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ John B. Watson - ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา ได้แก่
Vygotsky , Piaget ทฤษฎีของสองคนนี้คล้าย ๆ กัน
3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย ได้แก่
Arnold Gesell - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแแต่เกิด  ได้แก่
Noam Chomsky - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
O.Hobart Mowrer - คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ

จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความพร้อม
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. การจำ
4. การให้แรงเสริม
      อาจารย์ให้เพื่อนออกไปพูดประโยคคำควบกล้ำ คือในตอนแรก ๆ ประโยคสั้น ๆ แต่พอหลัง ๆ เริ่มยาวมากขึ้นและพูดยากมากขึ้น  ดิฉันเองลองพูดตามเพื่อนแต่ต้องพูดช้า ๆ เพื่อคำที่พูดนั้นจะได้ไม่ผิดความหมาย ในกิจกรรมนี้สนุกและตลกมาก ๆ เลยค่ะ












ฝึกร้องเพลงใหม่ 5 เพลง
เพลงดวงอาทิตย์  
เพลงดวงจันทร์  
เพลงรำวงดอกมะลิ  
เพลงดอกมะลิ 
และเพลงดอกกุหลาบ
      และกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันแต่งนิทาน และทำหนังสือนิทานที่เราแต่งกิจกรรมนี้ทำเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน







อาจารย์ได้สอนเทคนิคในการเล่านิทาน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อทำให้มีความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละคน แต่ละช่วงวัย เมื่อเกิดปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
  • สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ เป็นความรู้ และเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ เช่น การร้องเพลง พร้อมท่าประกอบ การแต่งนิทาน ระหว่างครูกับเด็ก ๆ เพื่อเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการทำงานของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการได้หลากหลายวิชา
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตนเองตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดด้านการพัฒนาทาง ภาษา และได้ฝึกทักษะการพูด ออกเสียงอย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ ทั้งการเรียน และให้ความร่วมมือ ช่วยกันระดมความคิด   จินตนาการในการทำงาน มีความสุขในการเรียนและทำกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนไม่เครียด และน่าเบื่อ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนราบรื่น เป็นขั้นเป็นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์นำมาสอน ก็มีความสนุกสนาน รวมทั้งได้ความรู้ จากการเรียนและทำกิจกรรมด้วย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น